วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

กีฬา เทเบิลเทนนิส

ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส
  
     เท่าที่มีหลักฐานบันทึกพอให้ค้นคว้า  ทำให้เราได้ทราบว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นที่ประเทศอังกฤษ  ในปี ค.ศ.  1890  ในครั้งนั้น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบด้วย  ไม้  หนังสัตว์  ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิสในปัจจุบันนี้   หากแต่ว่าแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนังสัตว์หุ้มไว้แทน  ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์  เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็เกิดเสียง “ปิก-ป๊อก”  ดังนั้น  กีฬานี้จึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งตามเสียงทีได้ยินว่า  “ปิงปอง” (PINGPONG)  ต่อมาก็ได้มีการวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้แทน  ซึ่งได้เล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน 
 
    วิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด  (PUSHING)  ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ  BLOCKING และ CROP  การเล่นถูกตัด  ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป  และแพร่หลายมากในประเทศต่าง ๆ  ทั่วยุโรป  การจับไม้ก็มีการจับไม้อยู่  2  ลักษณะ  คือ  จับไม้แบบจับมือ  (SHAKEHAND)  ซึ่งเราเรียกกันว่า  “จับแบบยุโรป”  และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER)  ซึ่งเราเรียกกันว่า “จับไม้แบบจีน”  นั่นเอง
 
    ในปี ค.ศ. 1900  เริ่มปรากฏว่า  มีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่นกัน  ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุกหรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  เริ่มมีบทบาทมากยิ่งขึ้น  และยุคนี้จึงเป็นยุคของนายวิตเตอร์  บาร์น่า (VICTOR BARNA)  อย่างแท้จริง  เป็นชาวฮังการีได้ตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีม  รวม 7 ครั้ง  และประเภทชายเดี่ยว  5 ครั้ง  ในปี ค.ศ. 1929-1935  ยกเว้นปี  1931  ที่ได้ตำแหน่งรองเท่านั้น  ในยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้าย ๆ กับไม้ในปัจจุบันนี้ วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมีทั้งการรุก (ATTRACK)  และการรับ (DEFENDIVE)  ทั้งด้าน  FOREHAND  และ  BACKHAND  การ จับไม้ก็คงการจับแบบ  SHAKEHAND  เป็นหลัก  ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป  แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER  ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมีน้อยมากในยุโป  ในระยะนั้นถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

      ในปี ค.ศ. 1922  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา  ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” ด้วยเหตุนี้กีฬานี้จึงเป็นชื่อมาเป็น  “TABLE TENNIS”  ไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนได้ประการหนึ่ง  และเพื่อไม่ใช่เป็นการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง  และแล้วในปี ค.ศ. 1926  จึงได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  ค.ศ. 1926  ภายหลังจากการได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้นโดย  DR. GEORG LEHMANN  แห่งประเทศเยอรมัน  กรุงเบอร์ลิน  เดือนมกราคม  ค.ศ. 1926  ในปีนี้เองการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ก็ได้เริ่มขึ้น  พร้อมกับการก่อตั้งสหพันธ์ฯ  โดยมีนายอีวอร์  มองตากู  เป็นประธานคนแรก  ในช่วงปี ค.ศ. 1940  นี้  ยังมีการเล่นและจับไม้พอจำแนกออกเป็น  3  ลักษณะดังนี้
      1.  การจับไม้  เป็นการจับแบบจับมือ
      2.  ไม้ต้องติดยางเม็ด
      3.  วิธีการเล่นเป็นวิธีพื้นฐาน  คือ  การรับเป็นส่วนใหญ่  ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น  “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย

      ในปี ค.ศ. 1950  จึงเริ่มเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งแท้จริงมีลักษณะพิเศษประจำดังนี้คือ
      1.  การตบลูกแม่นยำและหนักหน่วง
      2.  การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า

      ในปี ค.ศ. 1952  ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก  ที่กรุงบอมเบย์  ประเทศอินเดีย  และต่อมาปี ค.ศ. 1953  สาธารณรัฐประชาชนจีน  จึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์  ประเทศรูมาเนีย  จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงปีนี้นั่นเอง

      ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรง  โดยอาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย  เป็นยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำเพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก
      การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นยำและช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ เท่านั้น  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า  ข้อศอก  และข้อมือเท่านั้น  ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นซึ่งใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกเป็นการเล่นแบบ “รุกอย่างต่อเนื่อง”  ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นของยุโรปได้  การเล่นโจมตีแบบนี้เป็นที่เกรงกลัวของชาวยุโรปมาก  เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้าตายของญี่ปุ่น)  ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญในญี่ปุ่นกันว่า  การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไปจนดูแล้วรู้สึกว่าขาดความรอบคอบอยู่มาก  แต่ญี่ปุ่นก็เล่นวิธีนี้ได้ดี  โดยอาศัยความสุขุมและ Foot work  ที่คล่องแคล่วจนสามารถครองตำแหน่งชนะเลิศถึง  7  ครั้ง  โดยมี  5  ครั้งติดต่อกัน  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953-1959

      สำหรับในยุโรปนั้นยังจับไม้แบบ SHAKEHAND และรับอยู่ จึงกล่าวได้ว่าในช่วงแรก ๆ ของปี ค.ศ. 1960 ยังคงเป็นจุดมืดของนักกีฬายุโรปอยู่นั่นเอง

      ในปี ค.ศ. 1960  เริ่มเป็นยุคของจีน  ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้โดยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว  ผสมผสานกับการป้องกัน  ในปี  1961  ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศ  ครั้งที่  26  ที่กรุงปักกิ่ง  ประเทศจีน  จีนเอาชนะญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่อายุมาก  ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬาที่หนุ่มสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าทั้งรุกและรับ การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา  โดยจีนชนะทั้งประเภทเดี่ยวและทีม  3  ครั้งติดต่อกัน  ทั้งนี้เพราะจีนได้ทุ่มเทกับการศึกษาการเล่นของญี่ปุ่นทั้งภาพยนตร์ที่ได้บันทึกไว้และเอกสารต่าง ๆ  โดยประยุกต์การเล่นของญี่ปุ่น  เข้ากับการเล่นแบบสั้น ๆ แบบที่จีนถนัดกลายเป็นวิธีการเล่นที่กลมกลืนของจีนดังที่เราเห็นในปัจจุบัน

      ยุโรปเริ่มฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง  โดยนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง  นำโดยนักกีฬาชาวสวีเดนและประเทศอื่น ๆ  ซึ่งมีหัวก้าวหน้าไม่มัวแต่แต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าไม่เรียนแบบของชาติอื่นๆ ดังนั้นชายยุโรปจึงเริ่มชนะชายคู่  ในปี  1967  และ  1969  ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน  ในช่วงนั้นการเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับได้ฝังรากในยุโรป  จนมีการพูดกันว่านักกีฬายุโรปจะเรียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้นคงจะไม่มีทางสำเร็จแต่การที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นแบบญี่ปุ่นได้มีผลสะท้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลังของยุโรปเป็นอย่างมาก  และแล้วในปี  1970  จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและผู้เล่นชาวเอเชีย

      ช่วงระยะเวลาได้ผ่านไปประมาณ  10  ปี  ตั้งแต่  1960-1970   นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มฉายแสงเก่งขึ้น  และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งโลก  ครั้งที่  31  ณ กรุงนาโกน่า  ในปี  1971  โดยนักเทเบิลเทนนิส  ชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป  ภายหลังจากที่นักกีฬาชาวยุโรปได้ตกอับไปถึง  18  ปี  ในปี 1973  ทีมสวีเดนก็ได้คว้าแชมป์โลกได้จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตนได้ลอกเลียนแบบและปรังปรุงมา  ดังนั้นนักกีฬาของยุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับและลาตินอเมริกา  ก็เริ่มแรงขึ้นก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น  เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้านเทคนิคซึ่งกันและกัน การเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดยุคไปแล้วตั้งแต่ปี  1960  เริ่มจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นมาอีก  โดยการใช้ความชำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ซึ่งมีความยาวของเม็ดยางยาวกว่าปกติ  การใช้ยาง  ANTI – SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้าช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยอย่างมาก ในขณะนี้กีฬาเทเบิลเทนนิสนับว่าเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก มีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งผู้เล่นเยาวชนต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนากีฬาเทเบิลเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่างไม่มีที่วันสิ้นสุด และขณะนี้กีฬานี้ก็ได้เป็นกีฬาประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก โดยเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกในปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีเป็นครั้งแรก

กีฬา ดาร์ท

ประวัติกีฬาดาร์ท
  
ดาร์ทเป็นชื่อกีฬาเรียกตามภาษาทางการ แต่ถ้าเป็นชาวบ้านเรียกว่า “ปาเป้า”หรือ            “ปาลูกดอก” เป็นกีฬาที่สามารถเล่นได้ทั้งกลางแจ้งและในร่มชนิดหนึ่ง แต่ต้องเป็นที่ไม่มีลมพัด เป็นกีฬาเล่นง่ายและสนุก แต่ละบุคคลสามารถพัฒนาการเล่นของตน เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย
กีฬาชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานสำหรับในต่างประเทศ ส่วนของประเทศไทยนั้นสามารถกล่าวถึงที่มาได้คร่าวๆ คือเริ่มจากสโมสรของอังกฤษได้นำเข้ามาเล่นกันภายในสโมสรก่อน ต่อมาจึงมีการทดลองเล่นกันข้างนอก และช่วงนี้เองคนไทยที่มีความสนใจก็หันมาศึกษากติกา   วิธีกาเล่น สุดท้ายหลังจากทดลองเล่นกัน จึงสามารถค้นพบว่าเป็นกีฬาที่เล่นไม่ยาก และยังสามารถเล่นได้ดีกว่าผู้ที่นำเข้ามาเล่นเผยแพร่เสียอีก กีฬาประเภทนี้จึงเกิดขึ้นในประเทศไทย และมีคนไทยสนใจมากขึ้น แต่ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก  ทั้งๆ ที่คนไทยเคยเป็นแชมป์โลกดาร์ทอยู่แล้ว คือ   คุณนิกกี้ หรือคุณเอนก วิรัชกุล ตอนนี้อยู่ที่อเมริกา คุณนิกกี้เป็นแชมป์โลก ปี ค.ศ. 1979 แต่ไม่มีใครรู้จัก      ปีต่อมามีคนไทยได้ตั้งชมรมดาร์ทขึ้นที่จังหวัดลำปาง นับเป็นชมรมดาร์ทแห่งแรกในประเทศไทย กีฬาดาร์ทหรือปาเป้าต้องใช้เวลาถึง 10 ปี กว่าจะเป็นที่รู้จักของคนไทยกันอย่างแพร่หลาย จนถึงมีการจดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาดาร์ทแห่งประเทศไทยขึ้นมา โดยมีคุณกระจาย  ทองสมบัติ เป็นประธานสมาคมอยู่ในขณะนี้   

กีฬา ซอฟท์บอล

ประวัติกีฬาซอฟท์บอล
  


    ซอฟท์บอล (Softball) เป็นกีฬาที่ถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานแล้ว และเป็นที่นิยมกันทั่วประเทศ นับเป็นกีฬาประจำชาติอย่างหนึ่งของชาวอเมริกันประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ผู้เล่นเบสบอลต้องการที่จะเล่นเบสบอลต่อไปในฤดูหนาวด้วย จึงทำให้เกิดเบสบอลในร่มขึ้น แต่ก็ประสบปัญหาเพราะสนามในร่มที่ใหญ่ที่สุดเพียงใดก็ยังเล็กกว่าสนามเบสบอลกลางแจ้งทั่วไป จึงมีความจำเป็นต้องดัดแปลงลูกบอลให้ใหญ่พอดี เพื่อให้ตีไปได้ไกลเท่ากับลูกบอลขนาดธรรมดากฎกติกาต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมที่จะเล่นในร่ม อย่างไรก็ตาม เบสบอลในร่มก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
    
      ลักษณะทั่วไปของเกมและวิธีการเล่นส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับเกมเบสบอลจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า เบสบอลในร่ม (Indoor Basebell) เพราะสามารถปรับปรุงให้เล่นในที่แคบหรือภายในห้องยิมฯ ได้ ต้นกำเนิดของการเล่นซอฟท์บอลอันเชื่อถือได้นั้น ตามบทความในหนังสือ Indoor Baseball Guide พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2449 โดย American Sports Publishing Company กล่าวไว้อย่างละเอียดว่า เกมเบสบอลในร่มได้กำเนิดขึ้นที่เมืองชิคาโก กล่าวคือ เมื่อปี พ.ศ. 2430 สมาชิกสโมสรแล่นเรือ ชื่อ Farragut Boat Club ได้นัดประชุมกันในโรงยิมฯ แห่งหนึ่งในเมืองนี้ เนื่องในเทศกาลขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day)

      พวกเด็กๆ ซึ่งติดตามบิดามารดามาด้วยในครั้งนี้ ต่างพากันเล่นอยู่ภายในโรงยิมฯ นอกห้องประชุม และได้เก็บเอานวมเก่าๆ (ใช้ชกมวย) ที่ทิ้งอยู่ภายในโรงยิมฯ ขว้างรับกันไปมารอบๆ ห้องอย่างสนุกสนาน ในขณะนั้นมีเด็กคนหนึ่งถือด้ามไม้กวาดเก่าๆ แล้วตีนวมกลับไปทางคนที่โยนมาให้ เขาทำเลียนแบบการตีลูกเบสบอลซึ่งเขาเคยได้เห็นการแข่งขันเกมนี้มาก่อนแล้ว

      ขณะนั้น George W. Hancock ซึ่งเป็นผู้นำทางสันทนาการในวันหยุดประจำโรงยิมฯ แห่งนี้ ขณะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการเล่นของเด็ก ได้เกิดแนวความคิดใหม่ขึ้นมาโดยฉับพลัน จึงอุทานขึ้นว่า "Say, Boys, Let's play ball" ดังนั้นเขาและพวกเด็กๆ ได้ช่วยกันยกเบาะมวยปล้ำมาวางทำเป็นเบส หลังจากนั้นการเล่นก็เริ่มขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา โดยใช้ด้ามไม้กวาดซึ่งหักออกเป็นสองท่อนขนาดยาวพอเหมาะทำเป็นไม้ตี ใช้นวมชกมวยเก่าๆ แทนลูกบอล และเบาะมวยปล้ำแทนเบส เย็นวันเสาร์ต่อมาอีกอาทิตย์หนึ่ง G.W. Hancock นัดให้เด็กเหล่านั้นมาร่วมเล่นกันอีกครั้ง ซึ่งในวันนี้เขาได้จัดเตรียมไม้ตีที่หุ้มด้วยยาง และลูกบอลใหญ่ที่นิ่มมากกว่าไว้ให้ พร้อมทั้งตั้งกติกาง่ายๆ บางข้อไว้ด้วย ครั้นเย็นของวันเสาร์ดังกล่าวตามนัดมาถึง นาย G.W. Hancock จึงจัดแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย และอ่านกติกาการเล่นพร้อมอธิบายวิธีเล่นให้ แล้วจึงเริ่มเล่นกันอย่างสนุกสนาน ต่อมา G.W. Hancock ได้แก้ไขกติกาการเล่นเกี่ยวกับลูกบอล และไม้ตีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่โรงยิมฯ ในที่สุดจึงเรียกเกมนี้ว่าเบสบอลในร่ม โดยใช้ลูกบอลที่มีน้ำหนักเบาขนาดเส้นรอบวง 16 นิ้ว และใช้ไม้ตี เกมการเล่นในร่มได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ทำให้อุปกรณ์การเล่นไม่เพียงพอ จึงได้มีการดัดแปลงการเล่นให้เหมาะสมกับบุคคลทุกเพศทุกวัย Lewis Rober เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดริเริ่มกีฬาซอฟท์บอล โดยได้ดัดแปลงการเล่นจากในร่มมาเป็นการเล่นกลางแจ้งในปี พ.ศ. 2438 Lewis Rober เป็นสมาชิกของแผนกดับเพลิง เมืองมินนีอาโป-ลิส เขาได้แนะนำให้พนักงานดับเพลิงที่มีเวลาว่างเล่นเกมที่คิดขึ้นชื่อ คิทเท็นบอล (Kitten ball) หรือซอฟท์บอลโดยใช้มือเล่น พนักงานดับเพลิงได้เล่นกันอย่างแพร่หลายเมื่อไม่ได้ทำงาน ในช่วงระยะสองถึงสามปีแรก Rober ได้ประสบปัญหาอย่างยุ่งยากเล็กน้อยในการจัดหาลูกบอลให้เพียงพอกับผู้เล่น แต่ภายหลังเขาได้จัดหาลูกบอลให้อย่างเพียงพอกับความต้องการ

      การเล่นเบสบอลในร่ม ซึ่งใช้ลูกบอลขนาดใหญ่ขึ้นนี้ ได้ถูกโยกย้ายออกไปสู่สนามกลางแจ้งในฤดูใบไม้ผลิอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีบางภาคของประเทศเรียกชื่อการเล่นนั้นเสียใหม่ว่า Indoor-Outdoor เหล่าผู้นำกิจกรรมการแข่ง (Playground leaders) แห่งเมืองมินนีอาโปลิส และเซนต์ปอล ได้ร่วมประชุมกันเพื่อเขียนกฎกติกาเป็นฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2451 นับว่าเป็นต้นกำเนิดกติกาซอฟท์บอล และได้พัฒนาจนถึงปัจจุบันนี้ในปีเดียวกัน คณะกรรมการชุดนี้ได้ร่วมกันจัดตั้ง National Amateur Playground Ball Association แห่งสหรัฐอเมริกาขึ้นด้วย และปีต่อมา Amateur Softball Association of America ก็ถูกจัดตั้งขึ้นที่เมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ กติกาซึ่งพิมพ์ในปี พ.ศ. 2451 นั้น ก็ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมขึ้นในบางข้อ

      นับแต่ปี พ.ศ. 2451 เป็นต้นมา เมื่อมีการจัดตั้งรูปสมาคมแห่งชาติ และพิมพ์กติกาคู่มือการเล่นขึ้นเผยแพร่ ทำให้เกมซอฟท์บอลได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปทั้งในหมู่เด็กและผู้ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆจนเกือบทั่วประเทศ และก็ได้พิสูจน์แล้วว่า แม้จะเล่นในร่มหรือกลางแจ้งก็มีความสนุกสนานเช่นกัน แต่ภายหลังคนจะนิยมเล่นกันกลางแจ้งมากว่า บางครั้งจะมีการแข่งขัดนัดสำคัญๆ เป็นประจำทุกปี ทั้งมีผู้เล่นและผู้ชมจำนวนมาก

      จากการเริ่มเล่นที่แผนกดับเพลิงมินนีอาโปลิส เกมเบสบอลได้แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วทางตะวันตก ผู้นำสันทนาการต่างยอมรับในคุณค่าของเกม และได้สาธิตการเล่นในสนามของเมืองเซนต์ปอลในปี พ.ศ. 2456 หลังจากนั้นซอฟท์บอลก็ได้เข้ามาสู่ความนิยมในปัจจุบัน

      สมาคมซอฟท์บอลตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443 ที่เมืองมินนีอาโปลิส กติกาได้พิมพ์ครั้งแรกที่เมืองมินนีอาโปลิสในปี พ.ศ. 2451 และในปี พ.ศ. 2459 Matthew T. Caine ได้รวบรวมกติกาพิมพ์ และใช้ควบคุมการแข่งขันคิทเท็นลีก (Kitten League Ball)ประมาณปลายปี พ.ศ.2463 ประเทศแคนาดาได้นำซอฟท์บอลเข้าไปเล่นและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว การเล่นกระจายไปทั่วประเทศแคนาดา

วิวัฒนาการของซอฟท์บอล


      ชาวอเมริกันบางกลุ่มได้พยายามเปลี่ยนของเดิมให้ผิดแปลกออกไป เช่น เปลี่ยนกฎกติกาบางข้อ และเปลี่ยนชื่อเกม เช่น Kitten ball , Army ball , Playground ball , Mush ball , Diamond ball , Indoor-Outdoor etc. เป็นต้น เมื่อนักกีฬาต่างถิ่นมาแข่งขันจึงทำให้เกิดปัญหาโต้แย้งกันขึ้นในเวลาแข่งขัน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2466 นาย Joseph Lee ประธานสภาแห่ง National Recreation Committer เมืองสปริงฟิลด์ รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งเป็นผู้บริหารงานด้านสันทนาการแห่งชาติ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า Playground Baseball Committee ทำหน้าที่ปรับปรุงแก้ไขกฎกติกาการเล่นซอฟท์บอลให้เป็นแนวเดียวกัน และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ ใช้บังคับทั่วประเทศในฤดูการแข่งขันต่อมา

      ในปี พ.ศ. 2473 Lee H. Fischer และ MJ. Pauley จากเมืองชิคาโก ได้ทดลองนำการเล่นในร่มออกไปเล่นกลางแจ้ง หลังจากนั้นก็ได้สร้างสนามเล่นกลางแจ้งที่มีขนาดมาตรฐาน Fischer และ Pauley ได้จัดการแข่งขันขึ้นที่เมืองชิคาโก ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้เสนอให้มีการจัดแข่งขันแห่งชาติในโอกาสที่มีการแสดงสินค้าโลกในฤดูร้อนของปี พ.ศ.2476 โดยใช้ชื่อการแข่งขัน ซอฟท์บอล ซึ่งตั้งชื่อโดย Water L. Hakanson จากสมาคม Y.M.C.A. เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโดหลังจากนั้นแนวความคิดการเล่นซอฟท์บอลได้แพร่หลายในเมืองต่างๆ ทางตอนใต้ ภายใต้การสนับสนุนจากสมาคมสันทนาการแห่งชาติ และเรียกเกมการเล่นว่าเพลย์กราวด์บอล (Playground Ball) สมาคมสันทนาการแห่งชาติได้ให้การสนับสนุนเนื่องจาก

           1. เป็นการเล่นที่คล้ายกับเบสบอล
           2. สามารถเล่นได้ในสนามเด็กเล่น
           3. สตรีและเด็กหญิงก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับเด็กชายและสุภาพบุรุษซึ่งไม่ทำให้นิ้วหัก โดยชื่อซอฟท์บอลมีผู้นิยมเล่นเรียกกันมากว่าเพลย์กราวด์บอลและมีผู้เล่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากปี พ.ศ. 2475-2536 เป็นปีที่ถือว่าซอฟท์บอลได้พัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะจากวิกฤตการณ์ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนว่างงานจำนวนมากหันเข้ามาร่วมในศูนย์สันทนาการ จึงได้ชักชวนกันเล่นอย่างกว้างขวางทีมต่างๆ ที่เล่นก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น เพลย์กราวด์บอล เบสบอล สันทนาการ คิทเท็นบอล เบสบอลตรี ซอฟท์บอล และอื่นๆ อีกมากมายในปี พ.ศ. 2475 เพราะยังไม่มีผู้ใดคิดชื่อที่เป็นมาตรฐานได้ และเป็นกีฬาที่เล่นในช่วงเวลาว่าง หรือหลังเลิกงานแล้วเท่านั้น

      ปัจจุบันกีฬาซอฟท์บอลในสหรัฐอเมริกาเป็นที่นิยมเช่นเดียวกับกีฬาเบสบอล จากผลการประชุมคณะกรรมการ ณ กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. เมื่อเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2477 จัดโดย Recreation Cong เป็นต้นมา ทำให้กีฬาซอฟท์บอลเป็นกีฬาประจำชาติ มีการแข่งขันระหว่างเมืองต่อเมือง ระหว่างมลรัฐตลอดฝั่งตะวันออกจดฝั่งตะวันตก และร่วมดำเนินการโดย The Joint Rules Committee ร่วมกับสมาคมซอฟท์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้ง Amateur Athletics Union แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาFischer และ Pauley ได้จัดการแข่งขันเพื่อชิงชนะเลิศแห่งชาติขึ้นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 มีทีมสมัครเข้าแข่งขัน 20 ทีม ขณะนั้น Fischer ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมซอฟท์บอลสมัครเล่น พบว่าแต่ละทีมมีกฎกติกาของตนเองและต่างก็ไม่ยอมซึ่งกันและกัน ไม้ตีหรือลูกบอลก็มีขนาดไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันก็ดำเนินต่อไปได้สำเร็จ ทีม J.L. Gills จากชิคาโก เป็นทีมชนะเลิศ จากการแข่งขันทำให้เกิดความคิดที่จะปรับปรุงกติกาให้เป็นมาตรฐานอันเดียวกัน

      จากการที่ Fischer และ Pauley ได้แนะนำการเล่นซอฟท์บอลทำให้มีผู้เล่นมากกว่า 20,000,000 คน ทั้งคนสูงอายุ เด็กชาย เด็กหญิง และวัยรุ่น โดยเฉพาะสตรีมีเล่นถึง 20,000,000 คน ซึ่งมีทั้งที่เล่นประจำและเล่นในบางโอกาสในปี พ.ศ. 2481 Wilbur J. Landis ได้นำซอฟท์บอลเข้าไปเผยแพร่แก่คนงานบริษัทผลิตเครื่องยนต์ที่เมืองดีทรอยต์ ทำให้ซอฟท์บอลพัฒนายิ่งขึ้น

      ในปี พ.ศ. 2485 การคมนาคมเป็นไปด้วยความยากลำบาก จึงจัดให้มีการแข่งขันเป็นเขตโดยผู้ชนะแต่ละเขต ผู้ชนะเลิศในปีที่ผ่านมา และทีมเจ้าภาพที่ชนะเลิศจะมาแข่งขันกันอีกครั้งหนึ่ง วิธีจัดการแข่งขันจะจัดแบบพบกันหมด 2 ครั้งในรอบแรก ซึ่งสามารถจัดได้เนื่องจากมีทีมเข้าแข่งขันน้อยลงในระยะแรกของการจัดการแข่งขันซอฟท์บอล ได้จัดการแข่งขันตามสนามต่างๆ เท่าที่จะหาได้ ไม่มีการเก็บค่าชม ผู้เข้าชมจะอยู่รอบๆ สนามอย่างหนาแน่น หากมีที่ไม่พอก็จะลงไปในสนาม ทำให้ผู้เล่นไม่ได้รับความสะดวก ต่อมาจึงทำรั้วกั้นสนามขึ้นหลายแห่ง สร้างอัฒจันทร์และติดตั้งไฟให้สามารถเล่นได้อย่างต่อเนื่องและต่อมาจึงเก็บค่าชม ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้มีรายได้คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะประชาชนก็พร้อมที่จะเสียค่าชม

      ในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการแข่งขันซอฟท์บอลระดับนานาชาติ และมีสมาคมซอฟท์บอลเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น และออสเตรีย

      ในปี พ.ศ. 2505 ผู้เล่น 1,200,000 คน และทีม 75,500 ทีม ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมซอฟท์บอลสมัครเล่นของอเมริกา มีสมาชิกสโมสร 10,000 แห่งมีสวนสาธารณะปิดที่จัดให้เล่น 13,000 แห่ง และสนามทั่วๆ ไปเกือบ 16,300 แห่ง จากการสำรวจพบว่าที่รัฐโอไฮโอมีสนามซอฟท์บอลที่ติดไฟ 186 สนาม รัฐนิวเจอร์ซี มีสนามเล่นมากกว่า 2,000 สนาม รัฐมิชิแกน มีผู้เล่น 4,756,500 คน รัฐโอไฮโอ มีเกมการแข่งขันรวม 38,415 เกม สถิติที่มีผู้ชมสูงสุดในเกมเดียวถึง 35,000 คน ในการแข่งขันคู่ชิงชนะเลิศที่สนามวิกเล่ย์ ลอสแอนเจลีส และทีม แคนาดา มีผู้ชมถึง 17,511 คนในคู่แข่งขันระหว่างทีมบริษัทบริก จากดีทรอยต์ กับ ทีมแฮมิลตัน พี จี จากโตรอนโต ในปี พ.ศ. 2484 สถิติการแข่งขันที่ยาวนานที่สุดถึง 42 อินนิ่ง โดยแข่งขันที่เมืองเค็นโนซ่า รัฐวิสคอนซิน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485 โดยทีมอิตาเลียนอเมริกันคลับเป็นทีมชนะ 1 ต่อ 0 ในปี พ.ศ. 2495 มีการแข่งขัน 23 อินนิ่ง ระหว่างทีมเดนเวอร์ และทีมเจอร์ซี่ โดยแข่งที่เมือง บริดกีพอร์ด รัฐคอนเนกติกัต โดย Harvery เป็นพิชเชอร์ของทีมเดนเวอร์ ซึ่งทำสถิติทำให้ผู้เล่นออก (Strike out) ถึง 35 คน ปรากฏว่าทีมเจอร์ซี่ ชนะ 4 ต่อ 3

      สถิติของ Ragan ในปี พ.ศ. 2493 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกชนะ 5 ครั้ง ทำให้ผู้เล่นออก 77 คน ช่วยให้ทีมได้คะแนนเฉลี่ย .073 ปี พ.ศ. 2494 ในการแข่งขันระดับโลกทำให้ผู้เล่นออก 60 คน ในการเล่น 48 อินนิ่ง และช่วยให้ทีมได้ 4 คะแนน (Runs) ในปี พ.ศ. 2495 สถิติของ Ragan ดีขึ้นในการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก ทำให้ผู้เล่นออก 68 คน ในการเล่น 56 อินนิ่งได้ 6 คะแนน

      ประวัติซอฟท์บอลในประเทศไทย

           พ.ศ. 2494 เริ่มมีการเรียนในโรงเรียนฝึกหัดครูพลศึกษากลาง
           พ.ศ. 2503 กรมพลศึกษาจัดการแข่งขันประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชน ชาย หญิง
           พ.ศ. 2509 - จัดตั้งสมาคมซอฟท์บอลแห่งประเทศไทย นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นนายกสมาคม
                - เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหพันธ์กีฬาซอฟท์บอลสากล
                - แข่งขันสาธิตทีมหญิงไทยกับฟิลิปปินส์ ในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2519 ใช้ชื่อ สมาคมซอฟท์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (The Amateur Softball Association of Thailand)

กีฬา ซอฟท์เทนนิส

ประวัติกีฬาซอฟท์เทนนิส
  
                  กีฬาซอฟท์เทนนิสเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2413 ในประเทศญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจากกีฬาเทนนิสซึ่งชาวยุโรปริเริ่มขึ้น ซอฟท์เทนนิสเป็นกีฬาที่ชาวญี่ปุ่นนิยมเล่นกันมาก และต่อมาได้แพร่หลายในหลายประเทศทั้งในประเทศเกาหลี ไต้หวัน อเมริกา บราซิล ฟิลิปปินส์ แซร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เป็นต้น การแข่งขันซอฟท์เทนนิสชิงแชมป์โลกเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 และได้จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกสองปี พ.ศ. 2529 มีการก่อตั้งสหพันธ์ซอฟท์เทนนิสแห่งเอเชียขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเผยแพร่กีฬาซอฟท์เทนนิสให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
กีฬาซอฟท์เทนนิสคล้ายกับเทนนิส แต่จะใช้ลูกบอลยางเนื้อนุ่มและแร็กเกตที่เบากว่า ทำให้ผู้เล่นสามารถตีลูกได้อย่างสบายๆ มักนิยมเล่นคู่มากกว่าเล่นเดี่ยว การเล่นจะต้องอาศัยทั้งทักษะของผู้เล่น พละกำลังที่แข็งแรง สมาธิ และความร่วมมือของคู่เล่น
สำหรับการแข่งขันมักเป็นประเภทคู่ หรืออาจแข่งประเภททีมจึงจะประกอบด้วยคู่แข่งขันหลายคู่ก็ได้

 
                 ปี พ.ศ.2532  กีฬาซอฟท์เทนนิสเริ่มเข้ามาในประเทศไทย  โดยทางสมาพันธ์ซอฟท์เทนนิสแห่งเอเชียซึ่งมีที่ตั้งสำนักงานที่ประเทศญี่ปุ่นนำกีฬานี่มาเผยแพร่  โดยผ่านทางคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิคแห่งประเทศไทย  และสำนักงานกีฬาทหารได้ร่วมกันจัดตั้งชมรมซอฟท์เทนนิส  (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสมาคมซอฟท์เทนนิสแห่งประเทศไทย)  เพื่อเป็นองค์กรในการเผยแพร่กีฬาซอฟท์เทนนิสภายในประเทศไทย  โดยมี พ.อ.กุศล  อิศรางกูล ณ อยุธยา  เป็นประธานชมรม พร้อมกันนั้นได้ร่วมมือกับกรมพลศึกษา สาธิตแนะนำ  แจกอุปกรณ์กีฬาซอฟท์เทนนิสแก่วิทยาลัยพลศึกษาต่างๆ เพื่อเป็นการเผยแพร่กีฬาประเภทนี้    ประธานซอฟท์เทนนิสญี่ปุ่นได้มีหนังสือให้ บริษัทโตชิบา ดิสเพลย์ ประเทศไทยเป็นผู้อำนวยการความสะดวกต่างๆในช่วงที่นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของประเทศญี่ปุ่นพำนักอยู่ในประเทศไทย
ทางด้านการพัฒนาฝีมือของนักกีฬาและผู้ที่สนใจในระยะแรกนั้น  ทางชมรมซอฟท์เทนนิสได้จัดใด้มีการแข่งขันชิงแชมป์แห่งประเทศไทย  ซึ่งมีนักกีฬาที่มาจากการฝึกเทนนิสกว่า 30 คน มาร่วมการแข่งขันและทางชมรมยังได้ส่งนักกีฬาไปร่วมการแข่งขันชิงชนะเลิศที่ นาโกยา ประเทศญี่ปุ่น  ซึ่งนับเป็นการเดินทางไปแข่งขันต่างประเทศในนามทีมชาติไทยเป็นครั้งแรกสำหรับกีฬาซอฟท์เทนนิส เมื่อปี พ.ศ.2532
ปี พ.ศ. 2533 ทางชมรมได้จัดให้มีการแข่งขันซอฟท์เทนนิสชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ร่วมส่งนักกีฬาแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 11 ซึ่งกีฬาซอฟท์เทนนิสได้บรรจุเข้าในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2534  การแข่งขันซอฟท์เทนนิสแห่งประเทศไทย  ได้งดมาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุ คือการขาดแคลนอุปกรณ์กีฬาซึ่งทางชมรมต้องพึ่งพาจากต่างประเทศทำให้มีไม่มีการขยายจำนวนผู้เล่นและผู้สนใจแต่ทางชมรมได้ร่วมส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในรายการชิงแชมป์เอเชียที่ประเทศเกาหลี
ปี พ.ศ. 2535 ทางชมรมได้ให้ นายเพชร บำรุงชีพ  ผู้จัดการฝ่ายบริหาร บริษัท โตชิบา ดีสเพลย์  ซึ่งเกี่ยวข้องกับกีฬาซอฟท์เทนนิสในภาคเอกชนมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการชมรม และปลายปีทางชมรมได้ร่วมแข่งขันรายการซอฟท์เทนนิสชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 2 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
 ปี พ.ศ. 2536  ถือได้ว่าเป็นปีที่ประสบผลสำเร็จที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งชมรมมาเนื่องจากทางชมรมได้ร่วมแข่งขันในรายการเวิลด์คัพ แชมป์เปี้ยนชิพ ครั้งที่ 10 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและทำให้ต่างชาติยอมรับนักกีฬาซอฟท์เทนนิส จากประเทศไทย  โดยสามารถคว้าเหรียญทองแดง ได้อันดับที่ 3 จากประเภทหญิงเดี่ยว ประเภทคู่หญิง ได้อันดับที่ 5 ประเภทชายเดี่ยว ได้อันดับที่  5 ส่วนประเภทชายคู่ ชนะเลิศ ในกลุ่มคอนโซลเรชั่น(กลุ่มผู้แพ้) โดยในการแข่งขันครั้งนี้มีจำนวนชาติทั้งหมด 19 ชาติ ทั่วโลก
 ปี พ.ศ. 2537  ทางชมรมได้จดทะเบียนเป็นสมาคมใช้ชื่อว่า สมาคมซอฟท์เทนนิส เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2537  โดยนายเพชร  บำรุงชีพ  เป็นนายกสมาคมคนแรกและได้ร่วมแข่งขันในรายการบางกอกอินวิเตชั่น และสิงคโปร์ โอเพ่น  เพื่อเตรียมทีมนักกีฬาในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์และเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์  ครั้งที่ 12 ที่เมืองฮิโรชิมา  ประเทศญี่ปุ่น   ผลการแข่งขันประเภทชายคู่  ได้อันดับที่ 5 และประเภทหญิงคู่ ได้อับดับที่ 7
 ปี พ.ศ. 2538  เนื่องจากนักกีฬาเก่าที่ทางสมาคมมีอยู่เริ่มมีอายุมากขึ้น  ดังนั้น ทางสมาคมจึงมีโครงการเตรียมทีมนักกีฬาเยาวชน  โดยคัดเลือกจากนักกีฬาเทนนิส หรือผู้ที่สนใจที่มีอายุน้อยมาทำการฝึกซ้อม  สมาคมได้ร่วมกับสมาพันธ์ซอฟท์เทนนิสแห่งเอเชีย  และกรมพลศึกษา  จัดอบรมผู้ฝึกสอนนักกีฬาซอฟท์เทนนิส  โดยเชิญอาจารย์จากวิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ ผู้ที่สนใจเข้าอบรม  เพื่อเพิ่มความรู้และเผยแพร่กีฬาซอฟท์เทนนิสให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
 ปี พ.ศ. 2539  สมาคมได้ดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารตามวาระเป็นครั้งแรก  โดย ดร.จักรชัย อุ่นใจ  ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสมาคมและในปีเดียวกันสมาคมซอฟท์เทนนิสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพร่วมกับ  การกีฬาแห่งประเทศไทยได้จัดการแข่งขันซอฟท์เทนนิสชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย  ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่  2 – 8 พฤศจิกายน 2539  ที่สนามกีฬาหัวหมาก  มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 18 ประเทศ  ผลการแข่งขันเป็นดังนี้  ประเภทชายเดี่ยว ได้อันดับที่ 2 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภทหญิงเดี่ยว ได้อันดับที่ 3 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภทชายคู่ได้อันดับที่ 4 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภทหญิงคู่ได้อันดับที่ 3 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภททีมชายได้อันดับที่ 2 (กลุ่มผู้แพ้) ประเภททีมหญิงได้อันดับที่ 3 (กลุ่มผู้แพ้)
ปี พ.ศ. 2540 ดร.จักรชัย อุ่นใจ ลาออกจากตำแหน่งนายกสมาคมและสมาคมได้จัดประชุมใหญ่เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่  เมื่อเดือนเมษายน 2540 ซึ่งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย
นายกำธร     
อินทรพิชัย
นายกสมาคม
นายพิพัฒน์
ตั้งอิทิพลากร
อุปนายก
นายคงศักดิ์
เจริญรักษ์  
อุปนายก
นายชัยวิทย์
จิตเมตตา
อุปนายก
นายวินัย
ศุภพิพัฒน์
เลขาธิการ
นางเฉลียวศรี
ฉิมวงษ์
ผู้ช่วยเลขาธิการ
นางนราภรณ์
โรจนสกุล
เหรัญญิก
นายประเสริฐ
ศรีสืบ
วิเทศสัมพันธ์
นายปราชญ์
ไชยคำ
ประชาสัมพันธ์
นายเดชา         
เศวตศิโรรัตน์
นายทะเบียน
นางสาวจันทร
พิมพ์สกุล
ปฏิคม
นายสุเมธ
มุกดาพิทักษ์
กรรมการ
นายพัฒนาเศรษฐ์
จังคศิริ
กรรมการ
นายเฉลิมชัย
บุญรักษ์
กรรมการ

        ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการชุดปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงข้อบังคับสมาคม และย้ายที่ตั้งสำนักงานสมาคมที่การกีฬาแห่งประเทศไทย  สนามกีฬาหัวหมาก ทั้งนี้   เพื่อให้การบริหารกีฬาสอดคล้องรองรับกับพระราชบัญญัติการกีฬาฯ และเอื้อต่อการปฏิบัติในการส่งเสริมพัฒนากีฬาซอฟท์เทนนิสทั้งส่วนกลางและภูมิภาค  ในช่วงที่ผ่านมาสมาคมได้ส่งทีมนักกีฬาชายร่วมการแข่งขันที่ประเทศไต้หวัน  ในรายการ  CHINESS TAYPE SOFT TENIS CHAMPIONSHIP 1997 เมื่อเดือนมิถุนายน  ผลการแข่งขันศึกษาดูงานการจัดการแข่งขัน ที่ประเทศญี่ปุ่น  ในรายการ INTER CITY TOURANAMENT ALL JAPAN 1998 เมื่อเดือนเมษายน  นอกจากนั้นสมาคมได้จัดการอบรมผู้ฝึกสอน  ผู้ตัดสิน และจัดการแข่งขันซอฟท์เทนนิสพัฒนาฝีมือประจำเดือน  ตลอดปีเพื่อเตรียมการบุคลากรและนักกีฬาร่วมการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์  ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปลายปี 2541  ซึ่งเป็นภารกิจที่หนักมาก เนื่องจากในรอบปีแรกสมาคมไม่มีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ แต่อย่างไรก็ดีสมาคมได้พยายามจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเผยแพร่  และพัฒนาบุคลากรด้านกีฬาซอฟท์เทนนิสอยู่ตลอดเวลา

กีฬา แชร์บอล

ประวัติกีฬาแชร์บอล
  
 
แชร์บอลเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่แบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย ลงสนามฝ่ายละ 7 คน ทำหน้าที่เป็นทั้งฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกันสลับกัน เมื่อเป็นฝ่ายรุก ต้องพยายามทำคะแนนโดยการนำลูกบอลไปโยนให้ลงตะกร้าของฝ่ายตน ซึ่งมีผู้ถือหนึ่งคนยืนอยู่บนเก้าอี้ในแดนของฝ่ายป้องกัน และฝ่ายป้องกันก็ต้องพยายามไม่ให้ฝ่ายรุกทำคะแนนได้ โดยทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฏ กติกา และมารยาทของกีฬาแชร์บอล

กีฬา ขี่ม้า

ประวัติกีฬาขี่ม้า
  
 
  
          มนุษย์มีความสัมพันธ์กับม้าสูงมาก เพราะเป็นสัตว์ที่สามารถเรียนรู้และตอบสนองมนุษย์ได้หลาย ๆ สิ่งทำให้เกิดความรัก ความประทับใจในความสามารถ ในรูปร่างที่สง่างามและแววตาที่ส่งประกายของความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับมนุษย์รู้จักวิธีการนำม้ามาใช้งานในหลายรูปแบบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การทำศึกสงคราม ช่วยในการทำกสิกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการขี่ม้าเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นรูปแบบของการแข่งขัน
พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสมาพันธ์ขี่ม้าแห่งเอเซีย
พ.ศ. 2525 บรรจุเข้าแข่งขันครั้งแรกในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 9
ประวัติกีฬาขี่ม้าในประเทศไทย 
พ.ศ. 2519 ก่อตั้งสมาคมนักขี่ม้าสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ต่อมาเปลี่ยนเป็นสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2520 เป็นสมาชิกในเครือโอลิมปิก
พ.ศ. 2526 เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ขี่ม้านานาชาติ

กีฬา กรีฑาคนสูงอายุ

ประวัติกีฬากรีฑาสูงอายุ
  
      พ.ศ.2518   การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์โลก (WVAC) ครั้งที่ 1 ณ เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เริ่มมีแนวคิดที่จะก่อร่างสมาคมกรีฑาสูงอายุแห่งเอเซีย     
      พ.ศ.2522   การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 3 ณ เมืองฮาโนเวอร์ประเทศเยอรมันนีแนวคิดที่จะก่อร่างสมาคมกรีฑาสูงอายุแห่งเอเซียชัดเจนยิ่งขึ้น โดย 3 ผู้นำ คือ นายฮารี จันดรา จากสิงคโปร์ นายไมคลา ซิง จากอินเดีย และ นายโฮ เดโอะ โอคาดะ จากญี่ปุ่น     
      พ.ศ.2524    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 ณ เมืองคริสเชิต ประเทศ นิวซีแลนด์ และการแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 1 ณ ประเทศสิงคโปร์       
      พ.ศ.2526   การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 2 ณ ประเทศอินเดีย     
      พ.ศ.2528    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 3 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีการเสนอให้ร่างธรรมนูญขอจัดการแข่งขันชิงแชมป์เอเซีย สลับปีกับชิงแชมป์โลก     
      พ.ศ.2529    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 4 ณ กรุงจาร์กาต้า ประเทศอินโดนี เซีย      
      พ.ศ.2531   การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 5 ณ เมืองไทยนาน ไทเป   
 
   
      พ.ศ.2533    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 6 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
      พ.ศ.2535    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 7 ณ ประเทศสิงคโปร์     
      พ.ศ.2537   การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 8 ณ กรุงจาร์กาต้า ประเทศ อินโดนีเซีย      
      พ.ศ.2539    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 9 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้      
      พ.ศ.2541    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 10 ณ เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น      
      พ.ศ.2543    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 11 ณ เมืองบังกาลอร์ ประเทศ อินเดีย      
      พ.ศ.2545    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 12 ณ เมืองต้าเหลียน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน     
      พ.ศ.2547    การแข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์เอเซีย ครั้งที่ 13 ณ ประเทศไทย ประวัติกรีฑาสูงอายุในประเทศไทย      
      พ.ศ.2528    ก่อตั้งชมรมกรีฑาผู้สูงอายุไทย     
      พ.ศ.2539    แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดสุพรรณบุรี     
      พ.ศ.2540   แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดเชียงใหม่      
      พ.ศ.2541    แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพมหานคร     
      พ.ศ.2542    แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี      
      พ.ศ.2543   แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 ณ กรุงเทพมหานคร
                   วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ชมรมกรีฑาผู้สูงอายุฯ ได้จดทะเบียนสถาปนา
                   เป็นสมาคมกรีฑาผู้สูงอายุไทย 
     
      พ.ศ.2544    แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้ง 6 ณ จังหวัดระยอง      
      พ.ศ.2545    แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 7 ณ จังหวัดนครสวรรค์     
      พ.ศ.2546    แข่งขันกรีฑาสูงอายุชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 8 ณ จังหวัดราชบุรี